หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

วันแสดงงาน ตรวจงานเดี่ยว วันที่ 18 พฤษจิกายน 2558



งานออกแบบ โลโก้ ผลิดภัณฑ์ สบู่สมุนไพรผสมขมิ้น ตรา บ้านสบู่

ออกแบบโลโก้ 3 แบบ
โลโก้ที่เลือกใช้

แบบกราฟิกบนกล่องสบู่

แบบกล่องสบู่



ขั้นตอนการตัดกล่อง



กลองที่ตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว

ผลิดภัณฑ์พร้อมบรรจใสกล่อง





มูดบอร์ด 3 ส

โครงกรออกแบบกราฟิบนบรรจุภัณฑ์ สบู่ผสมสมุนไพรขมิ้น ตรา บ้านสบู่ (งานเดี่ยว)




สอบปฏิบัติกลางภาค วันที่ 7 ตุลาคม 2558




สรุปงานกลุ่ม

งานกลุ่มโครงการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ ชมรมผลดภัณฑ์เพื่อสุขภาพ จ.นนทบุรี

ส 1 สืบค้น
ส 2 สร้างสมมุติฐาน
ส 3 สรุป


วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2558

สรุปการเรียนประจำวันที่ 23-9-58

อาจารย์สั่งเครียงานทั้งหมดให้เสร็จภายในวันที่ 7 ตุลาคม และนำเสนอผมงานหน้าห้องเรียนก่อน 6 โมงเย็น แล้วสอบออนไลน์ และวันนี้อาจารย์ให้ปริ้ทแบบกล่องที่ทำเสร็จแล้วเอามาตัดในห้องเรียนและตรวจดูความเรียบร้อย





สรุปการเรียนประจำวันที่ 16-9-58

อาจารย์ให้เข้าไปสมัคร docs.google.com แล้วเข้าไปในเว็บของมหาวิทยาลัย


เข้าไปที่ Mail google@chandra  แล้วเข้าไปกรอกข้อมูลแล้วสมัคร

สรุปการเรียนประจำวันที่ 9-9-58

อาจารย์บอกแนวการทำงานออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เรียนกับอาจารย์มีทั้งหมด 3 ส
ส 1 สืบค้น ศึกษาวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลผลิดภัณฑ์
ส 2 การสร้างสมุติฐาน
ส 3 สรุป
แล้วอาจารย์ยังให้เข้าไปดูตัวอย่างในเว็บ Prachinburi.aec.blogspot.com

http://prachinburi-aec.blogspot.com/


สรุปการเรียนประจำวันที่ 2-9-58

สัปดาห์นี้อาจารย์ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับการทำงานเดี่ยว โดยอาจารย์ได้บอกว่างานเดี่ยวอาจารย์จะให้ทำผลิดภัณฑ์ของคู่แข็ง
-โจท์อาจารย์ให้ใช้เงินลงทุนเพียง 500 บาท แต่ต้องให้ได้ผลิดภัณฑ์จำนวน 1 โหล ( เฉพาะวัตถุดิบ) โดยไปหาวัตถุดิบจากเจ้าของผลิดภัณฑ์ที่เราทำ
-อาจารย์ให้เอาคอนเซ็บทางวัฒนธรรมใส่ลงไปในงานด้วยโดยเข้าไปดูจากเว็บ

http://www.siamtype.com/

-เว็บ ศูยน์บันดาลไทย เอาไว้ศึกษา

http://www.bundanthai.com/th/


สรุปการเรียนประจำวันที่ 26-8-58

-อาจารย์ให้นักศึกษาเข้าไปดูข้อมูลจากเว็บของ chainatbrand.blogspot.com เพื่อเป็นข้อมูลในการทำงานออกเเบบบรรจุภัณฑ์
-อาจารย์ให้นักศึกษาไปหาข่าวมาแปลคนล่ะ 3 ข่าว จากเว็บ Thedieline.com หรือจากเว็บอื่น ๆ ก็ได้
-ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์มี 2 อย่าง คือ ออกแบบโคร้งสร้าง และออกแบบกราฟิก
-ในการสืบค้นจากเว็บ Herbpackage จะมีรูปแบบของ package มากมายเพื่อเอาไว้ในการทำงาน
http://www.thedieline.com/


http://www.a-roo.com/products/commercial-food/herb-packaging/



วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ

การออกแบบบรรจุภัณฑ์ คือการออกแบบส่วนประกอบภายนอกให้มีรูปลักษ์ที่โดดเด่น ดูดี มีสไตล์ ให้เป็นที่จดจำได้ง่าย และสามารถป้กป้องผลิดภัณฑ์จากสภาพอากาศและฝุ่น เพื่อให้ผลิดภัณฑ์คงสภาพอยู่ได้นานยิ่งขึ้น และสะดวกง่ายสำหรับการข่นส่ง

เรื่องที่ 1 สืบค้นเนื้อหา ค้นหาความรู้จากตำรา การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์


    การออกแบบกราฟฟิกหมายถึง การสร้างสรรค์ลักษณะ ส่วนประกอบภายนอกของ
โครงสร้างบรรจุภัณฑ์ ให้สามารถสื่อสาร สื่อความหมาย ความเข้าใจ (to communicate)
ในอันที่จะให้ผล ทางจิตวิทยา ต่อผู้อุปโภค บริโภคเช่น ให้ผลในการดึงดูด ความสนใจ 
การให้มโนภาพถึงสรรพคุณ ประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ ยี่ห้อผลิตภัณฑ์ผู้ผลิต ด้วย
การใช้วิธี การออกแบบ การจัดวางรูป ตัวอักษร ถ้อยคำ โฆษณา เครื่องหมาย
และสัญลักษณ์ ทางการค้า แล ะอาศัยหลักศิลปะการ จัดภาพให้เกิดการประสาน
กลมกลืน กันอย่างสวยงาม ตามวัตถุประสงค์ ที่ได้วางไว้ ดังภาพที่ 8

    การออกแบบกราฟฟิก บรรจุภัณฑ์ สามารถสร้างสรรค์ได้ทั้งลักษณะ 2 มิติ 
บนพื้นผิวแผ่นราบของวัสดุ เช่น กระดาษ แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะอาบดีบุก หรือ
อลูมิเนียม โฟมฯลฯ ก่อนนำวัตถุต่าง ๆ เหล่านี้ประกอบกัน เป็นรูปทรงของ
บรรจุภัณฑ์ ส่วนในลักษณะ 3 มิติก็อาจทำได้ 2กรณีคือ ทำเป็นแผ่นฉลาก (label) 
หรือแผ่นป้าย ที่นำไปติดบนแผ่นบรรจุภัณฑ์ประเภท rigid forms ที่ขึ้นรูปมา
เป็นภาชนะบรรจุสำเร็จมาแล้ว หรืออาจจะสร้างสรรค์บนผิวภาชนะบรรจุ รูปทรง 3มิติ
โดยตรงก็ได้เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติกเป็นต้น ซึ่งลักษณะของการออกแบบกราฟฟิก
บรรจุภัณฑ์นี้ส่วนใหญ่มักถือตามเกณฑ์ของเทคนิคการพิมพ์ในระบบต่างๆเป็นหลัก

    การออกแบบกราฟฟิก ถือว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่าง
มาก เพราะว่าเป็น ส่วนประกอบที่สำคัญ เหนือไปจากการบรรจุและการป้องกัน
ผลิตภัณฑ์โดยตรงทำให้บรรจุภัณฑ์ ได้มีหน้าที่ เพิ่มขึ้นมา โดยที่ลักษณะกราฟฟิก 
บรรจุภัณฑ์และสลากได้แสดงบทบาทหน้าที่สำคัญ อันได้แก่

1. การสร้างทัศนคติที่ดีงามต่อผลิตภัณฑ์และผู้ผลิต กราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์
และแผ่นสลาก ได้ทำหน้าที่ เปรียบเสมือนสื่อ ประชาสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์ในอันที่
จะเสนอต่อผู้อุปโภค บริโภคแสดงออกถึง คุณงานความดีของผลิตภัณฑ์ และความ
รับผิดชอบที่ ผู้ผลิตมีต่อผลิตภัณฑ์นั้น ๆ โดยที่ ลักษณะทาง กราฟฟิก จะสื่อความหมาย
และปลูกฝังความรู้ ความเข้าใจ การนำผลิตภัณฑ์ไปใช้ ตลอดทั้งสร้างความต่อเนื่อง
ของการใช้ การเชื่อถือในคุณภาพ จรกระทั่งเกิด ความศรัทธา เชื่อถือในผู้ผลิตใน
ผลผลิตที่สุดด้วย 

2. การชี้แจงและบ่งชี้ให้ผู้บริโภคทราบถึง ชนิดประเภทของผลิตภัณฑ์ ลักษณะ
กราฟฟิกเพื่อ ให้สื่อความหมาย หรือถ่ายทอดความรู้สึกได้ว่า ผลิตภัณฑ์คืออะไร และ
ผู้ใดเป็นผู้ผลิตนั้น มักนิยมอาศัย ใช้ภาพและอักษรเป็นหลัก แต่ก็ยังอาศัยองค์ประกอบ
อื่น ๆ ในการออกแบบ เช่น รูปทรง เส้น สี ฯลฯ ซึ่งสามารถสื่อให้เข้าใจหมายหมายได้
เช่น เดียวกับการใช้ภาพ และข้อความอธิบายอย่างชัดเจน ตัวอย่างงานดังกล่าวนี้มีให้
เห็นได้ทั่วไป และที่เห็นชัดคือ ผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ ที่บรรจุอยู่ในภาชนะที่ คล้ายคลึง
กัน ดังเช่น เครื่องสำอาง และยา เป็นต้น แม้บรรจุอยู่ในขวดหรือ หลอดรูปทรงเหมือนกัน
ผู้บริโภค ก็สามารถชี้ ได้ว่าอันใดคือเครื่องสำอางอันใดคือยา ทั้งนี้ก็โดนการสังเกตจาก
กราฟฟิก เช่น ลักษณะตัวอักษร หรือ สีที่ใช้ซึ่งนักออกแบบจัดไว้ให้ เกิดความรู้สึกผิด
แผกจากกัน เป็นต้น ดังภาพที่ 10

3. การแสดงเอกลักษณ์เฉพาะ สำหรับผลิตภัณฑ์และผู้ประกอบการลักษณะ
รูปทรงและโครงสร้าง ของบรรจุภัณฑ์ ส่วนใหญ่มักมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน ใน
ผลิตภัณฑ์แต่ละประเภททั้งนี้ เพราะกรรมวิธีการบรรจุภัณฑ์ ใช้เครื่องจักรผลิตขึ้นมา
ภายใต้ มาตราฐานเดียวกัน ประกอบกับผู้แข่งขัน ในตลาดมีมาก ดังที่เห็นได้ จาก
ผลิตภัณฑ์อาหาร สำเร็จรูปที่ผลิตและจำหน่ายอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ซึ่งมี
ลักษณะรูปทรง และโครงสร้างที่คล้ายคลึงกันมาก เช่น อาหารกระป๋อง ขวดเครื่องดื่ม
ขวดยา ซองปิดผนึก( pouch ) และกล่องกระดาษเป็นต้น บรรจุภัณฑ์
ต่าง ๆ เหล่านี้มักมีขนาด สัดส่วน ปริมารการบรรจุ ที่เหมือนกัน หรือใกล้เคียงกัน
ดังนั้นการออกแบบกราฟฟิก จึงมีบทบาทหน้าที่แสดงเอกลักษณ์ หรือบุคลิกพิเศษ
ที่เป็นลักษณะเฉพาะของตน ( brand image ) ของผลิตภัณฑ์ และ ผู้ผลิตให้เกิด
ความชัดเจน ผิดแผกจากผลิตภัณฑ์คู่แข่งขัน เป็นที่สะดุดตา และเรียกร้องความ
สนใจ จากผู้บริโภคทั้งเก่าและใหม่ให้จดจำ ได้ตลอดจนซื้อได้โดยสะดวกและรวดเร็ว 

4. การแสดงสรรพคุณและวิธีใช้ ของผลิตภัณฑ์เป็นการให้ข่าวสารข้อมูล 
ส่วนประสมหรือส่วน ประกอบที่เกี่ยว ข้องกับผลิตภัณฑ์ภายในว่ามีคุณสมบัติ 
สรรพคุณและวิธีการใช้อย่างถูหกต้องอย่างไรบ้าง ทั้งนี้โดยการอาศัย การออกแบบ
การจัดวาง( lay-out ) ภาพประกอบข้อความสั้นๆ (slogan) ข้อมูลรายละเอียด ตลอดจน
ตรารับรอง คุณภาพและอื่น ๆ ให้สามารถเรียกร้องความสนใจ จากผู้บริโภคให้
หยิบยกเอาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาพิจารณา เพื่อตัดสินใจเลือกซื้อ การออกแบบกราฟฟิค
เพื่อแสดง บทบาทในหน้าที่นี้จึงเปรียบจึงเปรียบเสมือน การสร้างบรรจุภัณฑ์ให้เป็น 
พนักงานขายเงียบ (the silent salesman) ที่ทำหน้าที่โฆษนา ประชาสัมพันธ์ แทนคน 
ณ บริเวณจุดซื้อ (point of purchase) นั้นเอง


    บรรจุภัณฑ์เป็นตัวแทนของกระบวนการส่งเสริมการขายทางด้านการตลาด 
ณ จุดขายที่สามารถจับต้องได้ เปรียบเสมือนกุญแจ ดอกสุดท้ายที่ จะไขผ่าน
ประตูแห่งการตัดสินใจซื้อ บรรจุภัณฑ์สามารถ ทำหน้าที่เป็นสื่อโฆษนา ได้อย่าง
ดีเยี่ยม ณ จุดขาย เพราะบรรจุภัณฑ์เป็นงานพิมพ์ 3 มิติและมีด้านทั้งหมดถึง 6 ด้าน 
ที่จะสามารถใช้เป็นสื่อโฆษณา ได้ดีกว่าแผ่นโฆษณาที่มีเพียง 2 มิติหรือด้านเดียว 

    นักออกแบบบางท่าน ได้เปรียบเทียบการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ว่าเปรียบ
เสมือนร่างกายของมนุษย์ เริ่มต้นจากรูปทรงของบรรจุภัณฑ์ อันได้แก่ ทรงสี่เหลี่ยม
ของกล่อง ทรงกลมของขวด หรือกระป๋อง เป็นต้น รูปทรงเหล่านี้เปรียบได้กับตัว
โครงร่างกายมนุษย์ สีที่ออกแบบบรรจุภัณฑ์เปรียบ เสมือนผิวหนังของมนุษย์ 
คำบรรยายบนบรรจุภัณฑ์ เปรียบได้กับปากที่กล่าวแจ้งแถลงสรรพ คุณของสินค้า
การออกแบบทั้งหมด ของบรรจุภัณฑ์จึงเปรียบเสมือนระบบการทำงานของ
มนุษย์ ในการออกแบบนักออกแบบ จะนำเอาองค์ประกอบ ต่าง ๆ อันได้แก่ 
กลยุทธ์การตลาด ช่องทางการจัดจำหน่าย และสภาวะคู่แข่งขันมาเป็นแนวความคิด 
ในการออกแบบ ให้สนองกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ ด้วยเหตุนี้ ในแง่ของนักออกแบบ
บรรจุภัณฑ์ การออกแบบอาจจะเขียน เป็นสมการอย่างง่าย ๆ ได้ดังนี้

        การออกแบบ = คำบรรยาย + สัญลักษณ์ + ภาพพจน์
                Design = Words + Symbols + Image

    ในสมการนี้ คำบรรยาย และสัญลักษณ์มีความเข้าใจ ตามความหมายของคำ ส่วน
ภาพพจน์นั้น ค่อนข้าง จะเป็นนามธรรม เนื่องจากการออกแบบภาพพจน์เป็นศิลปะอย่าง
หนึ่ง ซึ่งอาจแสดงออกได้ด้วย จุด เส้น สี รูปวาด และรูปถ่าย ผสมผสานกัน ออกมาเป็น
พาณิชย์ ศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ ด้วยหลักการง่าย ๆ 4ประการ คือ SAFE ซึ่งมีความหมายว่า

            S = Simple เข้าใจง่ายสบายตา
            A = Aesthetic มีความสวยงาม ชวนมอง
            F = Function ใช้งานได้ง่าย สะดวก
            E = Economic ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม





อ้างอิง http://design-prt1330.exteen.com/20080718/entry-5


ค้นหาความรู้จากตำรา การออกแบบกราฟิก

การออกแบบกราฟิก
        ความหมายของการออกแบบกราฟิก

งานกราฟิก หมายถึง งานการวางแผนทางศิลปะและการทำหัวเรื่อง โดยรู้ขนาดและสัดส่วนหลักในการออกแบบ รวมถึงการใช้สีเป็นองค์ประกอบเพื่อเน้นและดึงดูดความสนใจให้มากขึ้น และเป็นการช่วยให้ได้รายละเอียดชัดเจนของวัสดุที่ใช้ประกอบการสอน และยังมีความหมายรวมไปถึงการผนึกภาพ ภาพถ่าย รูปถ่าย อีกด้วย 
เป็นลักษณะของการออกแบบพื้นผิว 2 มิติ  เพื่อเป็นสื่อกลางสำหรับการถ่ายทอดข้อความ
ความรู้สึกนึกคิด แลอารมณ์ จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งเพื่อให้เข้าใจและรู้เรื่องโดยใช้ประสาทตาในการรับรู้เป็นส่วนใหญ่


ขอบข่ายของงานกราฟฟิก
           งานกราฟิกเป็นงานที่ดูเผิน ๆ น่านะเกี่ยวกับงานพิมพ์เท่านั้นแต่จริง ๆ แล้วงานกราฟิกยังเป็น งานที่มีความเกี่ยวพันกับงานอื่น ๆ อีก ได้แก่
  - การประชาสัมพันธ์ ถือได้ว่างานกราฟิกนี้เป็นงานที่ควบคู่ไปกับงานบริหาร เพราะเนื้อหาของ             การประชาสัมพันธ์ที่ออกไปนั้น หากไม่ดึงดูดความ

    สนใจที่ดีแล้วย่อมไม่สามารถที่จะสื่อความหมาย
    กันระหว่าผู้ชมกับฝ่ายองค์กรได้
  - งานโทรทัศน์ กราฟิกจะเกี่ยวข้องในส่วนที่เป็นหัวเรื่อง(title)สไลด์ ฯลฯ
  - งานจัดฉากละคร เช่นการจัดฉากในรูปแบบต่าง ๆ การออกแบบตัวหนังสือ
  - งานหนังสือพิมพ์ วารสารนิยมใช้สัญลักษณ์ทางการฟิกกันมากเพราะสัญลักษณ์เหล่านี้ทำให้ผู้อ่าน
     เข้าใจง่าย
  - งานออกแบบ หรือแบบร่าง เช่นออกแบบบ้าน
  - เขียนภาพเหมือน
  - งานพิมพ์หรือทำสำเนา
  - ทำซิลค์สกรีน
  - การออกแบบหนังสือ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ต่าง ๆ


  ความสำคัญของการออกแบบงานกราฟิก
1. การออกแบบที่ดีต้องทำให้ข้อมูลที่กระจัดกระจายมีระเบียบมากขึ้น
2. ช่วยให้ระบบการถ่ายทอดข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็วและชัดเจน
3. ช่วยสร้างสรรค์งานสัญลักษณ์ทางสังคม เพื่อการสื่อความหมายร่วมกัน
4. ช่วยพัฒนาระบบการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
5. ช่วยให้เกิดจินตภาพ เกิดมีแนวคิดสิ่งใหม่อยู่เสมอ
6. ส่งเสริมให้เกิดค่านิยมทางความงาม


คุณค่าของงานกราฟิก
งานกราฟิกที่ดีจำทำให้เห็นถึงความคิดในการออกแบบเป็นเลิศ จะมีอิทธิพลโดนตรงที่จะโน้มน้าวผู้รับข้อมูล ให้เกิดความสนใจ การยอมรับ ในขณะเดียวกันยังแสดงถึง
1. เป็นสื่อกลางในการสื่อความหมายให้เกิดการเข้าใจตรงกัน
2. สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ เกิดการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายได้
3. ช่วยให้งานเกิดความน่าสนใจ ประทับใจ แก่ผู้พบเห็น
4. ช่วยให้เกิดการกระตุ้นทางความคิด และการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว
5. ก่อให้เกิดความคิกสร้างสรรค์
6. ทำใหู้พบเห็นเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทั้งทางด้านการกระทำและความคิด


อิทธิพลของศิลปะในการออกแบบกราฟิก
    เพื่อต้องการให้งานกราฟิกมีคุณค่าและแสดงความหมายได้อย่างเต็มที่ องค์
ประกอบสำคัญที่จะช่วยให้งานกราฟิกมีความโดเด่นน่าสนใจ นักออกแบบจึงใช้หลักและวิธีการ
ทางศิลปะเป็นแนวทางการออกแบบโดยพิจารณาดังนี้
รูปแบบตัวอักษรและขนาด  
การกำหนดระยะห่างและพื้นที่ว่าง 
การกำหนดสี   
การจัดวางตำแหน่ง 


ประเภทของงานกราฟิก
การออกแบบงานกราฟิกใด ๆ ย่อมมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ลักษณะเฉพาะของงานหรือเงื่อนไขต่าง ๆของงานและวิธีการดำเนินงานต้องสอดคล้องกับปัจจัยทุกด้านในการสร้างงานออกแบบจึงควรศึกษาถึงองค์ประกอบสำคัญ ๆ หลาย ๆ ด้าน แนวทางในการคิดงานกราฟิก จะแปรเปลี่ยนไปตามลักษณะของสื่อหรืองานแต่ละประเภท โดยสามารถจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้


งานกราฟิกบนสื่อโฆษณาสิ่งพิมพ์
สื่อโฆษณามีหลายประเภทโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานด้านสิ่งพิมพ์ ปัจจุบันในวงการธุรกิจนิยมใช้เป็นสื่อประเภทนี้ค่อนข้างสูง เพื่อช่วยในการส่งเสริมการขาย เพิ่มการตลาด วิธีในการสร้างสื่อสิ่งพิมพ์มีมากมายและตัวสื่อสิ่งพิมพ์เองก็มีการพัฒนาตัวเองให้ทันกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เข้ามา จึงช่วยส่งเสริมแนวทางในการออกแบบงานกราฟิก และเทคนิคในการออกแบบได้เป็นอย่างดี สื่อโฆษณามีอยู่หลายประเภทด้วยกัน แต่ที่ใช้กันมากเป็นเรื่องรูปแบบของการออกแบบสื่อที่น่าสนใจ ได้แก่ แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ แผ่นพับ แผ่นปลิว และบัตรเชิญ


 แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์
แผ่นป้ายโฆษณา หรือ โปสเตอร์ (poster) เป็นสื่อที่มีบทบาทอย่างมากในการประชา
สัมพันธ์เพราะสื่อประเภทนี้สามารถเผยแพร่ได้สะดวกและกว้างขวาง สามาระเข้าถึงกลุ่มบุคคลได้
ทุกเพศทุกวัย ทุกระดับการศึกษา มีความยืดหยุ่นในตัวสื่อได้เป็นอย่างดี ในการออกแบบสามารถ
สร้างรูปภาพประกอบ ตลอดจนแนวทางการออกแบบกราฟิกได้อย่างอิสระและสวยงาม
ลักษณะของแผ่นป้ายโฆษณาจะสามารถนำเสนอข้อมูลรายละเอียดได้มากพอสมควร ผลิตง่าย ใช้สะดวก จึงเป็นที่นิยมตลอดมา ในเบื้องต้นมีการกำหนดลักษณะกว้าง ๆ ของการออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาว่า จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบ 4 ส่วนด้วยกันคือ
1. ต้องเป็นแผ่นเดียวสามารถปะติดลงบนผิวใดก็ได้
2. ต้องมีข้อความประกอบเสมอ
3. ต้องปิดไว้ในที่สาธารณะ
4. ต้องผลิตขึ้นจำนวนมากได้


การออกแบบเครื่องหมายสัญลักษ์
แผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์ที่ดีควรจะสนองแนวคิดหลัก 5 ประการได้แก่
1. จะต้องตอบสนองจุดประสงค์ในการสื่อความหมายได้อย่างเต็มที่
2. จะต้องมีความชัดเจนในภาพลักษณ์ และข้อความที่ใช้ในการสื่อความหมายและจะต้องมีความกระจ่าง มีขนาดที่พอเหมาะกัน
3. รูปภาพและข้อความที่นำเสนอควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์ส่งเสริมกัน
4. จะต้องมีความเข้าใจ ดึงดูดความสนใจกลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด
5. ต้องมีความกระทัดรัดกลายเป็นจุดสนใจ และจุดเด่นที่ควรจดจำ
 
ข้อดีของแผ่นป้ายโฆษณาหรือโปสเตอร์
1. ให้ความครอบคลุมพื้นที่สูง เลือกติดตั้งเฉพาะแหล่งชุมชนได้
2. ให้ความถี่ในการเห็นบ่อย เพราะจุดติดตั้งจะเป็นเส้นทางหรือชุมชน
3. สามารถดึงดูดความสนใจได้มาก
4. ไม่มีความจำกัดในเรื่องของเวลาในการนำเสนอข้อมูล
5. ข้อความที่กะทัดรัดกลายเป็นจุดสนใจ จุดเด่นที่ควรจดจำ


อ้างอิง http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~schutcha/graphic/Gtext03.htm